การใช้สื่อการสอน




สื่อการสอนหมายถึง วัสดุอุปกรณ์ วิธีการต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ดังนั้น สื่อการสอนจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมสื่อการสอนถูกเรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์
          สื่อการสอนเป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการถ่ายทอดสาร จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ซึ่งกระบวนการสื่อความหมายนั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการสื่อความหมายด้วยเช่นกัน
          โดยบทบาทและคุณค่าของสื่อการสอนนั้น มีนักเทคโนโลยีการศึกษา และนักจิตวิทยาหลายท่าน ได้สรุปสาระสังเขปสำคัญไว้ เช่น
          อิริคสันได้กล่าวถึงความสำคัญของสื่อการสอนไว้ดังนี้
1.      สื่อการเรียนการสอนจะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศไกลๆ แต่นำภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับประเทศนั้นๆมาฉายให้ดู ผู้เรียนก็จะเกิดประสบการณ์ที่กว้างขวางขึ้น
2.      สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย เช่นการใช้บทเรียนจากวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องฉาย หรือบทเรียนสำเร็จรูป
3.      สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการตอบสนองตามความคาดหวังที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เช่น ศูนย์การเรียน หรือการเรียนด้วยตัวเองจากบทเรียนสำเร็จรูป
4.      สื่อการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียนรู้ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักอภิปราย การสาธิต การแสดงนาฏการเป็นต้น
5.      สื่อการเรียนการสอนจะช่วยสอนสิ่งที่อยู่ในที่ลี้ลับ ไม่สามารถนำมาให้ดูโดยตรงได้ เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนแสดงการทำงานของอะตอม
6.      สื่อการเรียนการสอน จะช่วยในการวินิจฉัย หรือการซ่อมเสริมผู้เรียนได้ ตัวอย่างเช่น การใช้แบบเรียนรู้สำเร็จรูปสำหรับผู้เรียนที่เรียนช้ากว่าปกติ
เกอร์ลาซ และ อีไล ได้ให้ลักษณะพิเศษของสื่อการสอนไว้ดังนี้
1.      สื่อการเรียนการสอนสามารถบันทึกเหตุการณ์ในอดีต ตลอดจนปัจจุบันได้ และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
2.      สื่อการสอนสามารถบันทึกเหตุการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถสังเกตหรือมองเห็นได้ เช่น การใช้ภาพยนตร์ฉายแสดงการงอกของต้นถั่ว การแสดงภาพนักกีฬาที่เคลื่อนไหวช้าลง หรือการถ่ายสไลด์จากกล้องจุลทรรศน์เป็นต้น
3.      สื่อการเรียนการสอนสามารถใช้ได้กับคนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือรายบุคคลในสถานที่แตกต่างกันได้

เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงคุณค่าของสื่อการเรียนการสอน ต่อผลการเรียนการสอนดังนี้
1.      ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2.      ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้
3.      ช่วยให้ผู้เรียนสนใจ และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4.      ช่วยให้ผู้เรียนจดจำและประทับความรู้สึก ทำอะไรเป็นเร็วและดีขึ้น
5.      ช่วยส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
6.      ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ยากลำบากได้ โดยการแก้ปัญหาหรือข้อจำกัดต่างๆได้ดังนี้
ก.            ทำสิ่งซับซ้อให้ง่ายขึ้น
ข.            ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
ค.            ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
ง. ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้เร็วขึ้น
จ.ทำสิ่งใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง
ฉ.            ทำสิ่งเล็กให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
ช.            นำเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาได้
ซ.            นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
กล่าวโดยสรุปแล้ว คุณค่าของสื่อการสอนนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยในการจัดสภาพการเรียนรู้ เอื้อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม โดยช่วยทำให้สิ่งที่ยากต่อการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง หรือสามารถเรียนรู้ได้ในกลุ่มขนาดใหญ่ ช่วยลดช่องว่างทางการเรียนรู้ ทั้งด้านระยะเวลา ระยะทาง งบประมาณ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ช่วยขจัดหรือลดอุปสรรคทางการเรียนรู้ลงนั่นเอง
ประเภทของสื่อนั้น เราสามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบคือ
1.      แบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน
2.      แบ่งตามรูปร่างลักษณะของสื่อ
3.      แบ่งตามลักษณะของการนำไปใช้
การแบ่งประเภทของสื่อตามประสบการณ์ของผู้เรียน มีแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้ของ
มนุษย์ย่อมเกิดจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆโดยผ่านสื่อกลาง ระดับของประสบการณ์ที่ได้รับย่อมมีปริมาณมาก-น้อยแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับว่ามีความเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมมากน้อยเพียงไร
         






แนวคิดของ Hoban และ Zissman

แนวคิดของ Jerome S. Brunnelr

แนวคิดของ Edgar Dale แบ่งประสบการณ์ได้เป็น 11 ประเภท ได้แก่
1.      ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย
2.      ประสบการณ์จำลอง
3.      ประสบการณ์นาฏการ
4.      การสาธิต
5.      การศึกษานอกสถานที่
6.      นิทรรศการ
7.      โทรทัศน์การศึกษา
8.      ภาพยนตร์
9.      ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง วิทยุ
10.  ทัศนสัญลักษณ์
11.  วัจนสัญลักษณ์

การแบ่งประเภทของสื่อตามรูปร่างลักษณะของสื่อ
          Wilbure Young ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ดังนี้
1.      ทัศนวัสดุ ได้แก่ กระดานชอล์ก แผนภูมิ รูปภาพ สไลด์ ฟิล์ม ฟิล์มสตริป
2.      โสตวัสดุ ได้แก่ เทปบันทึกเสียง วิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา
3.      โสตทัศนวัสดุ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์
4.      เครื่องมือต่างๆ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องเสียง
5.      กิจกรรม ได้แก่ นิทรรศการ การสาธิต นาฏการ การศึกษานอกสถานที่

Gerlach and Ely ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.      ภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพต่างๆ ทั้งที่เป็นภาพถ่าย ภาพพิมพ์ และภาพที่มีอยู่ในหนังสือ สไลด์ ฟิล์ม และภาพโปร่งใส
2.      การบันทึกเสียง ได้แก่ สื่อที่บันทึกเสียงไว้ เช่น แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ และเทปโทรทัศน์ เป็นต้น สื่อประเภทนี้จัดเป็นวัจนวัสดุ
3.      ภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ และ เทปโทรทัศน์
4.      โทรทัศน์
5.      ของจริง สถานการณ์จำลอง และหุ่นจำลอง
6.      การสอนแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เปรื่อง กุมุท ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนไว้ 5 ประเภท ดังนี้
1.      บุคลากร ได้แก่ ครู วิทยากร
2.      วัสดุ ได้แก่ กระดาษ สี ของจริง สิ่งจำลอง หนังสือ ฟิล์ม
3.      เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องมือปฏิบัติงาน
4.      สถานที่ ได้แก่ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การแสดงบทบาทสมมติ



โดยทั่วไป วงการเทคโนโลยีการศึกษา แบ่ง สื่อการศึกษาออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1.      เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งสาร หรือส่งสื่อ ซึ่งเครื่องมือ หรืออุปกรณ์นี้ จำเป็นต้องมี ส่วนประกอบที่เรียกว่า soft ware เพื่อนำข้อมูลในวัสดุ ส่งไปยังผู้รับ
2.      วัสดุ (soft ware) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา ทำหน้าที่คือ การเก็บสารไว้ในตัว เพื่อใช้ประกอบกับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้ในการส่งสาร หรือบางครั้ง ก็สามารถส่งสารด้วยตัวของมันเอง
3.      เทคนิค หรือวิธีการ เป็นการกระทำที่อยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติ อาจจะใช้วัสดุเครื่องมือ หรือไม่ใช้ก็ได้ เทคนิคที่จัดว่าเป็นสื่อการสอนเช่น การแสดงนาฏการ การสาธิต การบรรยาย เป็นต้น
ศิริพงศ์ พะยอมแย้ม ได้ให้ทัศนะด้านประเภทของสื่อไว้ว่า สื่อสามารถแบ่งตามมิติออกเป็น 3 แบบได้แก่
1.      สื่อสามมิติ
ก.            สื่อ 3 มิติชนิดเคลื่อนไหว เช่น บุคคล การสาธิต นาฏการ
ข.            สื่อ 3 มิติชนิดนิ่ง เช่น ของจริง ของจำลอง
2.      สื่อ 2 มิติ
ก.            สื่อ 2 มิติชนิดเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์
ข.            สื่อ 2 มติชนิดนิ่ง เช่น รูปภาพ สไลด์ แผนที่ กระดานชอล์ก
3.      สื่อไร้มิติ ได้แก่ ภาษาพูด เสียงเพลง

การแบ่งประเภทของสื่อการสอน ตามการนำไปใช้
          Carlton W.H. Erickson and David H. Curl ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนในแง่ของการนำไปใช้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.      สื่อทัศนะที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ รูปภาพ ของจริง การศึกษานอกสถานที่ หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลอง เกม วัสดุกราฟิก ป้ายนิเทศ และนิทรรศการ กระดานดำ แผ่นป้ายสำลี กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายไฟฟ้า
2.      สื่อที่ต้องฉาย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ เทปโทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป ไมโครฟิล์ม การบันทึกเสียง

Gerlach and Ely ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะทางกายภาพได้ 6 ประเภท ดังนี้
1.      ภาพนิ่ง อาจะเป็นภาพประกอบในหนังสือ ภาพประกอบป้ายนิเทศ สไลด์ หรือฟิล์มสตริป เป็นต้น
2.      วัสดุอุปกรณ์ประเภทเสียง ได้แก่การบันทึกเสียง แผ่นเสียง หรือ ระบบเสียงในฟิล์มภาพยนตร์
3.      ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์
4.      โทรทัศน์
5.      ของจริง สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง
6.      บทเรียนโปรแกรมและคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

กล่าวโดยรวมๆคือ การแบ่งประเภทของสื่อการสอนนั้น ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้เกณฑ์ใด ก็ยังคงอ้างอิงอยู่กับลักษณะของการรับรู้ และการเรียนรู้ เป็นหลัก ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้มิติ หรือ ลักษณะการนำไปใช้ หรือแม้แต่รูปร่างของสื่อ สิ่งที่สำคัญของสื่อการสอนนั้น ไม่ใช่ประเภทของสื่อ แต่เป็นการออกแบบเพื่อการส่งสาร โดยต้องอาศัยการเลือกใช้ว่าจะออกแบบ และเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือใด ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ และสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เราคงไม่สามารถใช้สื่อประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในสถานที่ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าได้ ดังนั้น การเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และวัตถุประสงค์ของการสอน จึงมีความสำคัญสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา
ในการเลือกใช้สื่อการสอนนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการเลือกใช้สื่อแต่ละประเภท ให้เหมาะสม ซึ่งต้องพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่
1.      องค์ประกอบในการเลือกใช้สื่อ
1.1        จุดมุ่งหมายของการสอนและเนื้อหารายวิชา ผู้สอนจำเป็นต้องนำจุดมุ่งหมายของการสอนและเนื้อหาวิชา มาเป็นเครื่องพิจารณาเพื่อกำหนดได้ว่า ในเนื้อหาลักษณะวิชาที่จะนำมาสอนนี้ต้องการให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้หรือมีพฤติกรรมขั้นสุดท้ายเป็นเช่นไร
1.2        รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ซึ่งรูปแบบของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลต่อการเลือกสื่อการเรียนการสอน เช่น การบรรยาย อภิปราย หรือการสาธิต
1.3        ลักษณะของผู้เรียน โดยต้องพิจารณาทั้ง อายุ เพศ เจตคติ ความเชื่อ พื้นฐานความรู้ ความถนัดทางการเรียน เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม
1.4        เกณฑ์เฉพาะของสื่อ ซึ่งสื่อแต่ละประเภท จะมีคุณสมบัติ และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงบทบาทของสื่อแต่ละชนิด ก่อนทำการเลือกใช้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการเรียนการสอน
1.5        วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก โดยต้องคำนึงถึงสภาพของวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่มีอยู่ในสถานที่นั้นๆ
2.      ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อ กับคุณสมบัติของสื่อ และจุดประสงค์การเรียนการสอน โดยจุดประสงค์ทางการเรียนการสอน สามารถจำแนกองค์ประกอบได้fy’ouh
2.1 ประเภทของสื่อ
2.2 คุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
2.3 จุดประสงค์ของการเรียนการสอน
          การนำเสนอสื่อการเรียนการสอนนั้นต้องประกอบไปด้วยขั้นต่างๆดังนี้
1.      กลยุทธ์ในการนำเสนอสื่อ
2.      ความสามารถในการนำเสนอสื่อขงผู้สอน
3.      การใช้สื่อการสอนในระยะต่างๆ (ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นประเมินผล)
4.      การจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการใช้สื่อการสอน
5.      การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
โดยการวางแผนการใช้สื่อ ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้
1.      จะใช้สื่อเมื่อไหร่
2.      ใช้สื่อประเภทใด
3.      ว่างแผนใช้สื่ออย่างไร

การบำรุงรักษาสื่อนั้น มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะทุกครั้งที่มีการนำสื่อการสอนออกไปใช้ ย่อมมีโอกาสทำให้สื่อเกิดความเสียหาย ดังนั้น การบำรุงรักษาสื่อ จึงเป็นกระบวนการหนึ่งในการยืดอายุการใช้งานสื่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกเหนือจากการซ่อมบำรุงแล้ว การบำรุงรักษาสื่อยังหมายรวมไปถึงการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของสื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมออีกด้วย โดยมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
1.                          ก่อนนำสื่ออกไปใช้ ต้องตรวจสภาพของสื่อเสมอ ว่ามีการชำรุดตรงจุดใดหรือไม่ หากมี ให้ดำเนินการซ่อมแซมเพื่อมิให้สื่อเกิดความเสียหายมากขึ้นระหว่างใช้งาน
2.                          ระหว่างการใช้สื่อ ต้องใช้สื่อด้วยความระมัดระวัง อ่านวิธีการใช้สื่อให้เข้าใจก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสร้างความเสียหายกับตัวสื่อ
3.                          เมื่อใช้เสร็จให้ตรวจสอบสื่อทุกครั้งว่ามีจุดเสียหาย ต้องดำเนินการซ่อมแซมหรือไม่
4.                          ในการเก็บรักษาสื่อ ต้องเก็บรักษาสื่อในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท เช่น ไม่ควรเก็บสื่อแผนที่ ไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง และต้องมีการนำสื่ออกมาตรวจสอบสภาพเป็นระยะๆเพื่อป้องกันความเสียหายจากการเก็บรักษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น